เมนู

ยุคนัทธวรรค โลกกุตตรกถา


ว่าด้วยโลกุตรธรรม


[620] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตระ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4
สามัญผล 4 และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ.
ชื่อว่าโลกุตระ ในคำว่า โลกุตฺตรา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?.
ชื่อว่าโลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลก ข้ามพ้นแต่โลก ข้ามไป
จากโลก ล่วงพ้นโลก ล่วงพ้นโลกอยู่ เป็นอดิเรกในโลก สลัดออกแต่โลก
สลัดออกจากโลก สลัดไปจากโลก สลัดออกไปจากโลก สละออกแต่โลก
สละออกจากโลก สละออกไปจากโลก ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่ดำรงอยู่ในโลก
ไม่ติดอยู่ในโลก ไม่เปื้อนในโลก ไม่ไล้ในโลก ไม่ไล้ด้วยโลก ไม่ฉาบในโลก
ไม่ฉาบด้วยโลก หลุดไปในโลก หลุดไปจากโลก พ้นไปจากโลก หลุดพ้นไป
แต่โลก ไม่เกี่ยวข้องในโลก ไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก พรากออกแต่โลก พราก
ออกจากโลก พรากออกไปแต่โลก หมดจดแต่โลก หมดจดกว่าโลก หมดจด
จากโลก สะอาดแต่โลก สะอาดกว่าโลก สะอาดจากโลก ออกแต่โลก ออก
จากโลก ออกไปจากโลก เว้นแต่โลก เว้นจากโลก เว้นไปจากโลก ไม่ข้อง
ในโลก ไม่ยึดในโลก ไม่พัวพันในโลก ตัดโลกขาดอยู่ ตัดโลกขาดแล้ว
ให้โลกระงับอยู่ ให้โลกระงับแล้ว ไม่กลับมาสู่โลก ไม่เป็นคติของโลก
ไม่เป็นวิสัยของโลก ไม่เป็นสาธารณะแก่โลก สำรอกโลก ไม่เวียนมาสู่โลก
ละโลก ไม่ยังโลกให้เกิด ไม่ลดโลก นำโลก กำจัดโลก ไม่อบโลกให้งาม
ล่วงโลก ครอบงำโลกตั้งอยู่ ฉะนี้แล.
จบโลกุตตรกถา

อรรถกถาโลกุตตรกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโลกุตรกถา
อันพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในลำดับแห่งธรรมจักรกถาอันเป็นไปในโลกุตร-
ธรรม. ความแห่งบทโลกุตระในโลกุตรกถานั้นจักมีแจ้งในนิเทศวาร. โพธิ-
ปักขิยธรรม 37 มีอาทิว่า จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สัมปยุตด้วยมรรคและ
ผลตามที่ประกอบ ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า โพธิปกฺขิยธรรม เพราะเป็นไป
ในฝ่ายแห่งอริยะอันได้ชื่ออย่างนี้ว่า โพธิ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้. บทว่า
ปกฺเข ภวตฺตา เพราะเป็นไปในฝ่าย คือ เพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ.
ชื่ออุปฏฺฐานํ เพราะก้าวลง คือ แล่นไปในอารมณ์เหล่านั้น แล้วปรากฏ สติ
นั่นแหละปรากฏชื่อว่าสติปัฏฐาน ประเภทของสติปัฏฐานนั้น 4 อย่าง เป็นไป
ด้วยอำนาจการถืออาการไม่งาม เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน และด้วย
อำนาจการยังกิจให้สำเร็จด้วยการละความงาม สุข ความเที่ยงและความสำคัญ
ว่าตัวตนในกาย เวทนาจิต และธรรม เพราะฉะนั้นจึงท่านจึงเรียกว่าสติปัฏฐาน 4.
ชื่อว่า ปธานํ เพราะเป็นเหตุตั้งไว้. การตั้งไว้งามชื่อว่า สัมมัป-
ปธาน
. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมฺมปฺปธานํ เพราะเป็นเหตุตั้งไว้ชอบ หรือ
เพราะการตั้งไว้งามนั้นชื่อว่า ปธาน เพราะปราศจากความประพฤติผิด คือ กิเลส
เพราะนำความประเสริฐมาให้ ด้วยอรรถว่าให้สำเร็จประโยชน์สุข หรือเพราะ
ทำความเป็นประธาน สัมมัปปธานนี้เป็นชื่อของความเพียร. สัมมัปธานนี้นั้น
มีหน้าที่ละอกุศลที่เกิดแล้ว ไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นให้สำเร็จกิจในการเกิดขึ้นแห่ง
กุศลที่ยังไม่เกิด ให้สำเร็จกิจในการตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น
สัมมัปปธานจึงมี 4 อย่างด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า สัมมัปปธาน 4.